รากพิเศษ adventitious root

รากพิเศษ adventitious root
เป็นรากที่งอกจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ลำต้นหรือใบ อาจจำแนกตามรูปร่างและหน้าที่ได้เป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. รากฝอย (Fibrous root) เป็นรากที่งอกออกจากโคนลำต้น เพื่อแทนรากแก้วที่ฝ่อ
ไป พบมากในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่น รากข้าว ข้าวโพด หญ้า หมาก มะพร้าว เป็นต้น

รากฝอย (Britannica Online Encyclopedia, No Date)
2. รากค้ำจุน (Prop root หรือ Buttress root) เป็นรากที่งอกจากโคนต้นหรือกิ่งบนดินแล้วหยั่งลงดินเพื่อพยุงลำต้น เช่น รากข้าวโพดที่งอกออกจากโคนต้น รากเตย            ลำเจียกไทรย้อย แสม โกงกาง

รากค้ำจุนของโกงกาง
3. รากเกาะ (Climbing root) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้นมาเกาะตามหลัก  เพื่อชูลำต้นขึ้นสูง เช่น รากพลู พริกไทย กล้วยไม้ พลูด่าง เป็นต้น

รากเกาะของต้นพลูด่าง
4.รากหายใจ (Pneumatophore หรือ Aerating root) เป็นรากที่ยื่นขึ้นมาจากดินหรือน้ำเพื่อรับออกซิเจน เช่น รากลำพู แสม โกงกาง และรากส่วนที่อยู่ในนว คล้ายฟองน้ำของผักกระเฉดก็เป็นรากหายใจโดยนวมจะเป็นที่เก็บอากาศและเป็นทุ่นลอยน้ำด้วย

รากหายใจของต้นลำพู
5. รากปรสิต (Parasitic root) เป็นรากของพืชพวกปรสิตที่สร้าง Haustoria แทงเข้าไปในลำต้นของพืชที่เป็นโฮสต์ เพื่อแย่งน้ำและอาหารจากโฮสต์ เช่น ราก กาฝาก ฝอยทอง เป็นต้น

รากกาฝาก
 6 รากสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthetic root) เป็นรากที่แตกจากข้อของลำต้นหรือกิ่งและอยู่ในอากาศจะมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์จึงช่วยสังเคราะห์ด้วยแสงได้  เช่น รากกล้วยไม้ นอกจากนี้รากกล้วยไม้ยังมีนวม (Velamen) หุ้มตามขอบนอก ของรากไว้เพื่อดูดความชื้นและเก็บน้ำ

รากสังเคราะห์ด้วยแสงของต้นกล้วยไม้
7. รากสะสมอาหาร (Food storage root) เป็นรากที่สะสมอาหารพวกแป้งโปรตีน   หรือน้ำตาลไว้ จนรากเปลี่ยนแปลงรูปร่างมีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะเรียกกันว่า “หัว” เช่น หัวแครอท หัวผักกาด หรือหัวไชเท้า หัวผักกาดแดงหรือแรดิช (Radish) หัว บีท (Beet root) และหัวมันแกว เป็นรากสะสมอาหารที่เปลี่ยนแปลงมาจากราก แก้ว ส่วนรากสะสมอาหารของมันเทศ รักเร่ กระชาย เปลี่ยนแปลงมาจากราก แขนง

รากสะสมอาหาร
(โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มูลนิธิ สอวน., 2547, หน้า 224)
 8 รากหนาม (Thorn Root) เป็นรากที่มีลักษณะเป็นหนามงอกมาจากบริเวณโคนต้น ตอนงอกใหม่ ๆ เป็นรากปกติแต่ต่อมาเกิดเปลือกแข็งทำให้มีลักษณะคล้ายหนามแข็ง ช่วยป้องกันโคนต้นได้ ปกติพบในพืชที่เจริญในที่น้ำท่วมถึง เช่น โกงกาง ส่วนในปาล์มบางชนิดจะปรากฏรากหนามกรณีที่มีรากลอยหรือรากค้ำจุน

รากหนามของต้นโกงกาง

ลำต้นใต้ดิน

ลำต้นใต้ดิน
ลำต้นใต้ดิน  ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นราก  เนื่องจากมีรากแตกออกมาจากลำต้นเหล่านั้น  ลักษณะเหมือนกับรากแขนงแตกออกมาจากรากแก้ว  ลักษณะของลำต้นใต้ดินที่แตกต่างจากรากคือมีข้อ และปล้องเห็นได้ชัดเจนบางครั้งมีตาอยู่ด้วย  ต้นไม้ที่มีลำต้นใต้ดินมักมีอายุยืน ในแต่ละปีจะส่งหน่อ ที่เป็นส่วนของลำต้นหรือกิ่งขึ้นมาเหนือพื้นผิวดิน  เพื่อออกดอกและให้ผล  แล้วส่วนนี้ก็ตายไปเหลือแต่ลำต้นใต้ดินเอาไว้
รูปร่างลักษณะของลำต้นใต้ดินต่างจากลำต้นเหนือดินที่พบเห็นทั่วไป  อาจมีรูปร่างลักษณะกลมหรือเป็นแท่งยาว  เป็นแง่ง  หรือเป็นหัว เช่นเดียวกับรากสะสมอาหาร  จากรูปร่างของลำต้นใต้ดินที่แตกต่างกันจึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป
ชนิดของลำต้นใต้ดิน  จำแนกจากรูปร่างลักษณะดังนี้
1. แง่งหรือเหง้า  (Rhizome)  ลำต้นใต้ดินจะอยู่ขนานกับผิวดินเห็นข้อปล้องได้ชัดเจน  ตามข้อมีใบสีน้ำตาลที่ไม่มีคลอโรฟิลล์  มีลักษณะเป็นเกล็ด เรียกว่า ใบเกล็ด  หุ้มตาเอาไว้ มีรากงอกออกจากเหง้า  หรือแง่งนั้น ๆ ตาอาจแตกแขนงเป็นใบอยู่เหนือดิน  หรือเป็นลำต้นอยู่ใต้ดินก็ได้  เช่นหญ้าแห้วหมู  ขิง ข่า  ขมิ้น  มันฝรั่ง  ว่าน สาระแหน่  หญ้าแพรก  พุทธรักษา กล้วย  เป็นต้น  สำหรับต้นกล้วยที่เราเห็นส่วนที่อยู่เหนือดินขึ้นมานั้นเป็นก้านใบที่แผ่ออกเป็นกาบ  (Sheath) ซ้อนรวมกันเหมือนเป็นมัดนั่นเอง  โดยลำต้นจริงเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน  เช่นเดียวกับพุทธรักษา  ขิง ข่า  ที่มีลักษณะเป็นแง่ง  บางคนแบ่งแยกว่าลำต้นกล้วยงอกส่วนที่เป็นกาบใบขึ้นมาในแนวตั้ง  จึงเรียกลำต้นใต้ดินของกล้วยว่า รูทสตอก  (Rootstock ) ส่วนลำต้นใต้ดินที่งอกขนานไปกับพื้นดินเรียกว่า   ไรโซม (Rhizome)
2.  ทูเบอร์ (Tuber) เป็นลำต้นใต้ดินที่งอกออกมาจากปลายไรโซมมีปล้องเพียง  3-4  ปล้อง  ตามข้อไม่มีใบเกล็ดและราก  สะสมอาหารเอาไว้มากในลำต้นส่วนใต้ดิน  จึงดูอ้วนใหญ่กว่าหัวชนิดไรโซม  แต่บริเวณที่เป็นตาจะบุ๋มลงไป ตัวอย่างเช่น มันฝรั่ง  เหนือดินมีลำต้น และใต้ดินมีไรโซม  ซึ่งบริเวณปลายพองออกเป็นทูเบอร์  ดังในรูปที่ชี้ว่าเป็น “Eye”  นั้นคือตานั่นเองถ้ามีความชื้นพอเพียง  ต้นใหม่จะงอกออกมาจากบริเวณตา  ซึ่งผิดกับหัวมันเทศซึ่งเป็นรากไม่สามารถงอกต้นใหม่จากบริเวณหัวที่มีรอยบุ๋มได้ เพราะไม่ใช่ตา
ตัวอย่างอื่น ๆ ของหัวชนิดทูเบอร์  ได้แก่ หญ้าแห้วหมู  หัวมันมือเสือ  มันกลอย
3.  หัวกลีบ  หรือบัลบ์  (Bulb) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรง  อาจมีส่วนพ้นดินขึ้นมาบ้างก็ได้  ลำต้นมีขนาดเล็กที่มีปล้องที่สั้นมาก  บริเวณปล้องมีใบเกล็ดที่ซ้อนกันหลายชั้นจนเห็นเป็นหัว  เช่น หัวหอม  หัวกระเทียม  อาหารสะสมอยู่ในใบเกล็ด  ในลำต้นไม่มีอาหารสะสม  บริเวณส่วนล่างของลำต้นมีรากเส้นเล็ก ๆ แตกออกมาหลายเส้น  เมื่อนำหัวหอมมาผ่าตามยาว จะพบใบเกล็ดเป็นชั้นๆ ชั้นนอกสุดเป็นแผ่นบาง ๆ เนื่องจากไม่มีอาหารสะสมชั้นถัดเข้าไปมีอาหารสะสม  จึงมีความหนากว่าแผ่นนอก  ชั้นในสุดของลำต้นเป็นส่วนยอด  ถ้าเอาหัวชนิดนี้ไปปลูกส่วนยอดจะงอกออกมาเป็นใบสีเขียว
4.  คอร์ม (Corm)  ลักษณะของลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเช่นเดียวกับหัวกลีบ  ลักษณะที่แตกต่างกันคือเก็บอาหารไว้ในลำต้นแทนที่จะเก็บไว้ในใบเกล็ด  ลำต้นจึงมีลักษณะอวบใหญ่  ทางด้านล่างของลำต้นมีรากเส้นเล็ก ๆ หลาย  ๆ เส้น ที่ข้อมีใบเกล็ดบาง ๆ หุ้ม  ตาแตกออกมาจากข้อเป็นใบชูขึ้นสูงหรืออาจเป็นลำต้นใต้ดินต่อไป  ตัวอย่างเช่น  เผือก  ซ่อนกลิ่นฝรั่ง  และแห้ว  เป็นต้น

ครูแชมป์ พิริยะ ตระกูลสว่าง

ไฮดรา (Hydra)

ไฮดรา เป็นสัตว์ชั้นต่ำ หลายเซลล์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate animal) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือเนื้อเยื่อชั้นแรก(epidermis) และเนื้อเยื่อชั้นใน (gastrodermis) อยู่ในไฟลัม Cnidaria หรือ Coelenterata
ไฮดราเป็นพวกเดียวกับแมงกระพรุน ดอกไม้ทะเล และปะการัง สาเหตุที่จัดไฮดรา ไว้ในไฟลัม Cnidaria เพราะไฮดรามีเซลล์ที่มีชื่อว่า Cnidoblast หรือ sting cell ซึ่งเซลล์นี้จะสร้าง nematocyst พบได้ทั่วไปตามผิวหนังชั้นนอกและพบมากที่บริเวณหนวด มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตมาก ช่วยจับเหยื่อเป็นอาหารและป้องกันตัว โดยเซลล์นี้จะปล่อยสารพิษ พร้อมกับปล่อย nematocyst ออกไป พิษนี้จะทำให้ศัตรูเกิดอาการอ่อนเปลี้ย และเป็นอัมพาต

hydra1

(ที่มา https://image.dek-d.com/24/855635/107014942)

ประเภทของไฮดรา
ไฮดราเป็นพวกเดียวกับแมงกระพรุน ดอกไม้ทะเล และปะการัง สาเหตุที่จัดไฮดรา ไว้ในไฟลัม Cnidaria เพราะไฮดรามีเซลล์ที่มีชื่อว่า Cnidoblast หรือ sting cell ซึ่งเซลล์นี้จะสร้าง nematocyst พบได้ทั่วไปตามผิวหนังชั้นนอกและพบมากที่บริเวณหนวด มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตมาก ช่วยจับเหยื่อเป็นอาหารและป้องกันตัว โดยเซลล์นี้จะปล่อยสารพิษ พร้อมกับปล่อย nematocyst ออกไป พิษนี้จะทำให้ศัตรูเกิดอาการอ่อนเปลี้ย และเป็นอัมพาต

ลักษณะของไฮดรา
ไฮดรามีหลายสี ได้แก่ สีเทาอ่อนจนถึง เทาแก่ สีน้ำตาลอ่อน สีเขียว หรืออาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและอาหารที่กินเข้าไป ลักษณะและรูปร่างของไฮดราแบ่งได้เป็น 4 ส่วน บริเวณปาก (hypostome )และหนวด ( tentacle ) บริเวณกระเพาะ ( gastric region)บริเวณก้านตัว (stalk region) ฐานตัว basal dise หรือ pedal diseส่วนปากมีลักษณะนูนออกมาคล้ายรูปกรวย เรียกว่า hypostome รอบๆ hypostome มีหนวด(tentacle) เรียงเป็นวงชั้นเดียว มีตั้งแต่ 4-12 เส้น ส่วนความยาวของหนวด เมื่อโตเต็มวัยจะยาวหรือสั้นกว่าลำตัวแล้วแต่ชนิด บางชนิดยาวถึง 5 เท่า ของลำตัว ไฮดรา มี 2 เพศ อยู่ในตัวเดียวกัน (hermaphodite) และแยกเพศคนละตัว dioecious ในสภาวะแวดล้อมที่สมบูรณ์ ไฮดราจะสืบพันธุ์แบบแตกหน่อ (budding) โดยจะให้หน่อใหม่ทุกๆ 1-2 วัน พบว่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงขึ้น และต่ำลง จะทำให้ไฮดราสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ที่แสดงเพศ ตัวผู้จะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนออกมาอยู่ระหว่างหนวด กับกระเพาะ ซึ่งทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (sperm) เรียกว่า อัณฑะ (testis) ส่วนอวัยวะที่แสดงเพศเมียอยู่ตอนกลางของลำตัว มีลักษณะพองนูน มีหน้าที่สร้างไข่ เรียกว่า รังไข่ (ovary) ไฮดราบางชนิด มีทั้งอัณฑะ และรังไข่อยู่บนตัวเดียวกัน สำหรับช่วงชีวิตของมันนั้น ยังไม่มีใครทราบว่าอายุจะยืนยาวเท่าไร

แหล่งที่พบและการเก็บตัวอย่างไฮดรา
ไฮดราอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดค่อนข้างสะอาด หรือน้ำสะอาดหลายชนิด ชอบอยู่ในน้ำนิ่ง ได้แก่ คู คลอง ทะเลสาบ แม่น้ำ เป็นต้น การเก็บตัวอย่างใช้อุปกรณ์ดังนี้
1.ภาชนะสำหรับตักน้ำ และพืชน้ำ เช่น กระป๋อง บีกเกอร์ เป็นต้น
2.ภาชนะสำหรับใส่น้ำและพืชน้ำ เช่น ตู้เลี้ยงปลา ขันน้ำ ขวดปากกว้าง
3.หลอดหยด
4.ไรแดง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากเป็นอาหารของไฮดรา

การย่อยอาหารของไฮดรา
ไฮดรา เป็นสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง(One hole sac) ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด เรียกว่าหนวดจับ (Tentacle) ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดราคือตัวอ่อนของกุ้ง ปู และไรน้ำเล็กๆและใช้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (Nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ  ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวง เรียกว่า ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์(Gastrovascular cavity)ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูง เรียกว่า ชั้นแกสโตรโดรมิส (Gastrodermis) เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย
1. นิวทริทิพ เซลล์(Nutritive cell) บางเซลล์มีแซ่ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (Flagellate cell) บางเซลล์คล้ายอะมีบา เรียกว่าอะมีบอยด์เซลล์ (Amoebiol cell) ทำหน้าที่ยื่นเท้าเทียมออกมาล้อมจับอาหาร ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ มีหน้าที่โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และโบกพัดให้กากอาหารเคลื่อนที่ออกทางปากต่อไป
2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (Gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่สร้างน้ำย่อยและปล่อยออกมา ซึ่งการย่อยอาหารโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยอาหารแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยโดยอะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยอาหารแบบภายในเซลล์

การสืบพันธุ์ของพืชดอก : การสืบพันธุ์ของพืชดอก

การสืบพันธุ์ของพืชดอก

ดอกไม้นานาชนิด จะเห็นว่านอกจากจะมีสีต่างกันแล้วยังมีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างขอกดอกแตกต่างกัน ดอกบางชนิดมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น บางชนิดมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียว ดอกบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก บางชนิดเล็กเท่าเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นใจ แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบางชนิดไม่มีกลิ่นความหลากหลายของดอกไม้เหล่านี้เกิดจากการที่พืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนาน จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปร่างโครงสร้าง กลิ่น ฯลฯ แต่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันดอกก็ทำหน้าที่เหมือนกันคือ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืช

การสืบพันธุ์ของพืชดอก (Reproduction in a flowering plant)

การสืบพันธุ์เป็นการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ พืชดอกทุกชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียในออวุล

อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (The female organs)

– Carpel หรือ Pistill: เกสรตัวเมีย เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียประ กอบด้วยรังไข่ ยอดเกสรตัวเมีย และก้านเกสรตัวเมีย ดอกบาง ชนิดมีเกสรตัวเมียเพียง 1 อัน บางชนิดมีหลายอัน

– Ovaries: รังไข่ เป็นโครงสร้างหลักของอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ภายในโครงสร้างเล็กๆ เรียกว่า    ออวุล อาจมี ๑ หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีเซลล์เพศเมีย ออวุลจะติดอยู่กับผนังรังไข่ที่บริเวณ            พลาเซนตา

-Stigma: ยอดเกสรตัวเมีย เป็นส่วนบนสุดของเกสรตัวเมีย ผิว บนยอดเกสรตัวเมียมีน้ำเหนียวๆ เมื่อมีการถ่ายละอองเรณู ทำให้ ละอองเรณูติดอยู่ได้

-Style: ก้านเกสรตัวเมีย เป็นส่วนของเกสรตัวเมียที่เชื่อมระหว่าง ยอดเกสรตัวเมีย กับรังไข่ ดอกไม้หลายชนิดจะมีก้านเกสรตัวเมีย ชัดเจน เช่น ดอกแดฟฟอดิล บางชนิดมีก้านเกสรตัวเมียสั้น เช่น ดอกบัตเตอร์คัพ และที่สั้นมาก เช่น ป๊อปปี้

-Gynaeciam: จินนีเซียม เป็นโครงสร้างทั้งหมดของอวัยวะสืบ พันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วยเกสรตัวเมีย ๑ อัน หรือมากกว่า

อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ The male organs

-Stamens: เกสรตัวผู้ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้แต่ละ อันประกอบด้วยก้านอับเรณู ตรงปลายก้านมีอับเรณู อับเรณูแต่ละอัน มีถุงเรณู ในถุงเรณูมีละอองเรณู

-Androecium: แอนดรีเซียม เป็นโครงสร้างทั้งหมดของอวัยวะสืบ พันธุ์เพศผู้ของพืชดอก

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีดอก

๑. การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือการสร้างละอองเรณู (Microsporogenesis) การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอกจะเกิดขึ้นภายในอับเรณู (Anther) ซึ่งประกอบด้วยอับละอองเรณู (Pollen Sac) อยู่ ๔ อัน ภายในอับละอองเรณูจะมีเซลล์อยู่เป็นกลุ่ม ๆ แต่ละเซลล์เรียกว่า ไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (Microspore Mother Cell)

๒.การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียในพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ (Ovary) โดยที่ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล (Ovule) หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ (Megaspore Mother Cell)

เมกะสปอร์ในระยะนี้มีนิวเคลียสเป็น ๓ กลุ่มอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ดังนี้

๑.กลุ่มที่อยู่ตรงข้ามไมโครไพล์ (Micropyle) มีนิวเคลียส 3 เซลล์เรียกว่า แอนติโพแดล (Antipodals)

๒. กลุ่มบริเวณตรงกลางมีนิวเคลียส ๒ เซลล์ เรียกว่าโพลาร์นิวเคลียส (Polarnucleus or Polar Nuclei)

๓. กลุ่มทางด้านไมโครไพล์มีนิวเคลียส ๓ เซลล์ ซึ่งมีนิวเคลียสอันตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าอันอื่นเป็นเซลล์ไข่ (Egg Cell) อีก ๒ เซลล์ที่ขนาบข้างเรียกว่า ซินเนอร์จิด (Synergids)

การถ่ายละอองเรณูของพืชดอก (Pollination

การถ่ายละอองเรณู หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกชนิดเดียวกัน การถ่ายละอองเรณูเกิดขึ้นเมื่อละอองเรณูเจริญเต็มที่ อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไป โดยอาศัยลม น้ำ โดยเฉพาะ แมลงมีความสำคัญมากในการถ่ายละอองเรณูของพืชดอก และบนยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) ของพืชดอกจะมีน้ำเหนียวๆ ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยในการดักละอองเรณู

การถ่ายละอองเรณู มี ๒ แบบ คือ

๑. การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน หรือคนละดอกในต้นเดียวกัน (Self Pollination) การถ่ายละอองเรณูแบบนี้จะทำให้รุ่นลูกมีสมบัติทางกรรมพันธุ์เหมือนเดิม ถ้าเป็นพันธุ์ดีก็จะถ่ายทอดลักษณะพันธุ์ดีไปเรื่อยๆ

๒. การถ่ายละอองเรณูคนละดอกของต้นไม้คนละต้นในพืชนิดเดียวกัน (Cross Pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณูแบบข้ามดอก หรือต่างต้นกัน ก็จะทำให้พืชมีลักษณะต่าง ๆ หลากหลายและอาจจะได้พืชพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาได้

การปฏิสนธิซ้อน

เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ทิวบ์นิวเคลียสของละอองเรณูแต่ละอันจะสร้างหลอดละอองเรณูด้วยการงอกหลอดลงไปตามก้านเกสรเพศเมียผ่านทางรูไมโครไพล์ของออวุล ระยะนี้เจเนอเรทิฟนิวเคลียสจะแบบนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้ ๒ สเปิร์มนิวเคลียส (sperm nucleus)  สเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งจะผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต ส่วนอีกสเปิร์มนิวเคลียสจะเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวเคลียสไอได้ เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เรียกการผสม ๒ ครั้งของสเปิร์มนิวเคลียสนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)

การเกิดของเมล็ด

การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ทำให้เกิดไซโกต และเอนโดสเปิร์ม จากนั้นไซโกตก็จะแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นเอ็มบริโอต่อไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเอ็มบริโอ และอัตราการแบ่งเซลล์ รวมทั้งขนาดของเซลล์ที่ได้จากการแบ่งแต่ละบริเวณของเอ็มบริโอไม่เท่ากัน

โครงสร้างภายในของเมล็ด

การงอกของเมล็ด

การงอกของเมล็ดถั่วเหลือง ไฮโพคอทิลจะยืดตัวชูใบเลี้ยงให้โผล่ขึ้นมาเหนือระดับผิวดิน การงอกแบบนี้จะพบในพืชบางชนิด เช่น พริก  มะขาม เป็นต้น การงอกของเมล็ดถั่วลันเตา  ส่วนของไฮโพคอทิลไม่ยืดตัวทำให้ ใบเลี้ยงยังอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับการงอกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วๆไป หรือใบเลี้ยงคู่บางชนิด เช่น ขนุน มะขามเทศ ส่วนของข้าวโพดงอกแล้วใบเลี้ยงไม่โผล่เหนือดิน  มีแต่ส่วนของใบแท้ที่โผล่ขึ้นมาเหนือดิน

เมล็ดประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

๑. เปลือกหุ้มเมล็ด เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของเมล็ดเจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของออวุล ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่เอ็มบริโอที่อยู่ภายในเมล็ด

๒. เอ็มบริโอ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะเจริญไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนต่างๆ

๓. เอนโดสเปิร์ม เป็นเนื้อเยื่อที่มีอาหารสะสมไว้สำหรับการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ อาหารส่วนใหญ่เป็นประเภทแป้ง โปรตีน และไขมัน

การเกิดผล

ภายหลังการปฏิสนธิ ออวุลแต่ละออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่จะเจริญไปเป็นผลมีผลบางชนิดที่สามารถเจริญมาจากฐานรองดอก ได้แก่ ชมพู่ แอปเปิ้ล สาลี่ ฝรั่ง

ผลของพืชบางชนิดอาจเจริญเติบโตมาจากรังไข่โดยไม่มีการปฏิสนธิ หรือมีการปฏิสนธิตามปกติ แต่ออวุลไม่เจริญเติบโตเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่สามารถเจริญเติบโตเป็นผลได้ เช่น กล้วยหอม องุ่นไม่มีเมล็ด

นักพฤกษศาสตร์ได้แบ่งผลตามลักษณะของดอกและการเกิดผลออกเป็น ๓ ชนิด ดังนี้

๑. ผลเดี่ยว (simple fruit) เป็นผลที่เกิดจากดอกเดี่ยว หรือ ช่อดอกซึ่งแต่ละดอกมีรังไข่เพียงอันเดียวเช่น ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ทุเรียน ตะขบ เป็นต้น

๒. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เป็นผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกซึ่งมีหลายรังไข่อยู่แยกกันหรือติดกันก็ได้อยู่บนฐานรองดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า กระดังงา สตรอเบอรี่ มณฑา เป็นต้น

๓. ผลรวม (multiple fruit) เป็นผลเกิดจากรังไข่ของดอกย่อยแต่ละดอกของช่อดอกหลอมรวมกัน

เป็นผลใหญ่ เช่น ยอ ขนุน หม่อน สับปะรด เป็นต้น

กระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นในดอก มีดังนี้

๑. การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิสเพื่อสร้างสปอร์

๒. สปอร์เจริญเป็นแกมีโทไฟต์

๓. แกมีโทไฟต์แบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์

๔. มีการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์

๕. มีการแปรผันทางพันธุกรรม ทำให้ลูกที่ได้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี

การสืบพันธุ์ของพืชดอก : โครงสร้างของพืชดอก

โครงสร้างของพืชดอก

เนื้อเยื่อพืช
เนื้อเยื่อพืชที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างส่วนต่างๆ ของพืชแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น แบ่งตามความสามารถในการแบ่งเซลล์ หน้าที่ ลักษณะโครงสร้าง หรือตามตำแหน่งที่อยู่  ถ้าจำแนกตามความสามารถในการแบ่งเซลล์จะแบ่งเนื้อเยื่อพืชเป็น  ๒ ประเภท คือ
๑.เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem tissue)
เป็นเนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งตัวได้ มักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ผนังเซลล์บาง นิวเคลียสใหญ่ เด่นชัด แวคิวโอลขนาดเล็ก เซลล์อยู่ชิดกัน
ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อเจริญอกเป็น ๓ ประเภท ตามตำแหน่ง
๑.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) : เนื้อเยื่อประเภทนี้พบอยู่บริเวณปลายยอด ปลายราก และตา
เนื้อเยื่อปลายยอด

เนื้อเยื่อปลายราก

๒.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง  Laterral meristem): จะพบหลังจากมีการเจริญขั้นที่สอง เป็นเซลล์รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังเซลล์บาง เรียงตัวเป็นระเบียบ แบ่งเป็น ๒ ชนิด
๑)วาสคิวลาร์ แคมเบียม : แทรกอยู่ระหว่าง ไซเลม และโฟลเอ็ม มีหน้าที่ สร้าง secondary xylem และ secondary pholem พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
๒) คอร์ก แคมเบียม  : ทำหน้าที่สร้างคอร์ก เพื่อทำหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดมิส

วาสคิวลาร์แคมเบียม

คอร์ก แคมเบียม

๓) เนื้อเยื่อเจริญเหนือ ข้อ(Intercalary meristem) : เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้จะอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น ซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเข้ามาเกี่ยวข้อง
๒.เนื้อเยื่อถาวร คือ เนื้อเยื่อพืชซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่แบ่งตัวไม่ได้ และมีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ จะคงรูปร่างลักษณะเดิมไว้ตลอดชีวิตของส่วนนั้น ๆ ของพืชเนื้อเยื่อชนิดนี้เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันจนเซลล์นี้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมี Vacuole และ cell wall ก็เปลี่ยนแปลง
ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร เมื่อจำแนกตามลักษณะของเซลล์ที่มาประกอบกันจำแนกได้เป็น ๒ ชนิด คือ
๑. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วย เซลล์ชนิดเดียวกันล้วน ๆ จำแนกออกเป็นหลายชนิด คือ Epidermis Parenchyma Collenchyma Sclerenchyma Coke Secretory tissue
๒. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วย เซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำงานร่วมกัน ประกอบขึ้นด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ Xylem และ Phloem ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า Vascular bundle หรือ Vascular tissue นั่นเอง

โครงสร้างและหน้าที่ของราก
ราก คือ ส่วนหนึ่งที่งอกต่อจากต้นลงไปในดิน ไม่แบ่งข้อและไม่แบ่งปล้อง ไม่มีใบ ตา และดอก หน้าที่ของราก คือ สะสมและดูดซึมอาหารมาบำรุงเลี้ยงต้นพืช นอกจากนี้ยังยึดและค้ำจุนต้นพืช รากของพืชแบ่งออกเป็น ๒ ระบบ คือ
๑.ระบบรากแก้ว ต้นพืชหลายชนิดเป็นแบบรากแก้ว คือมีรากสำคัญงอกออกจากลำต้นส่วนปลายรูปร่างยาว ใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของราแก้ว จะแตกแขนงออกได้ ๒-๓ ครั้ง ไปเรื่อย ๆ รากเล็กส่วนปลายจะมีรากฝอยเล็ก ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อเพิ่มเนื้อที่ในการดูดซึมอาหารให้กับต้นพืช มักจะพบว่าพืชใบเลี้ยงคู่จะมีรากแบบรากแก้ว ตัวอย่างพืชที่มีลักษณะนี้คือ ขี้เหล็ก คูน มะกา มะหาด เป็นต้น
๒. ระบบรากฝอย เป็นรากที่งอกออกจากลำต้นส่วนปลายพร้อมกันหลายๆ ราก ลักษณะ เป็นรากกลมยาวขนาดเท่าๆ กันพบว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากแบบรากฝอย ตัวอย่างพืชที่มีรากแบบนี้คือ ตะไคร้ หญ้าคา เป็นต้น บางทีรากจะเปลี่ยนลักษณะไป เนื่องจากได้รับอิทธิพล จากสิ่งแวดล้อมภายนอก รากที่เปลี่ยนลักษณะไปนี้มีหลายชนิด เช่น รากสะสมอาหาร รากค้ำจุน รากเกี่ยวพัน รากอากาศ เป็นต้น

ตัวอย่างราก

รากมีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ
๑. ดูด ( absorption ) น้ำและแร่ธาตุที่ละลายน้ำจากดินเข้าไปในลำต้น
๒.ลำเลียง ( conduction ) น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของลำต้น
๓. ยึด ( anchorage ) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
๔. แหล่งสร้างฮอร์โมน ( producing hormones ) รากเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิด เช่น ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน

ลักษณะทั่วไปของลำต้น
ลำต้น(stem)  เป็นอวัยวะของพืชซึ่งส่วนใหญ่จะเจริญขึ้นมาเหนือดินแต่ก็มีพืชบางชนิดที่ลำ ต้นอยู่ใต้ดิน  ลำต้นประกอบด้วยส่วนสำคัญ  ๒ ส่วนคือ
๑. ข้อ(node)  เป็นส่วนของลำต้นที่มีตา(bud)ซึ่งจะเจริญไปเป็นกิ่ง ดอก หรือใบ
๒.ปล้อง(internode)  เป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อ

โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
ใบถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ต่อพืชเป็นอย่างยิ่งเพราะพลังงานที่ได้มานั้นต้องอาศัยการสังเคราะห์แสงซึ่ง เกือบทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่ใบของพืช
๑. โครงสร้างภายนอกของใบ
ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนแบนๆ ที่แผ่ขยายออกไปเรียกว่า แผ่นใบ (blade) และมีก้านใบ(petiole) เชื่อมติดอยู่กับลำต้นหรือกิ่งทางด้านข้าง และอาจมีหูใบ (stipule) ที่โคนก้านใบ  การที่ใบพืชมีลักษณะแบนมีประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับแสงเพื่อให็ ได้พลังงานไปใช้ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยในการระบายความร้อน  โดยทั่วๆไปใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากคลอโรฟิลล์
๒. โครงสร้างภายในของใบ
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลำต้น
๑. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น
๒. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมาก
๓. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลำเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath)

โครงสร้างของใบ

หน้าที่ของใบ
ใบมีหน้าที่สร้างอาหาร  เรียกว่า  “การสังเคราะห์ด้วยแสง” (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทเรียนเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง) นอกจากนี้ยัง ทำหน้าที่คายน้ำทางปากใบอีกด้วย
นอกจากนี้ใบของพืชบางชนิดยังทำหน้าที่อย่างอื่นอีก  เช่น  ใบตำลึง  มะระ และถั่วลันเตา             ทำหน้าที่ยึดและพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอก  จะประกอบกันเป็นชั้น ๆ อยู่บนฐานรองดอก   ดังนี้
๑.  ฐานรองดอก  เป็นส่วนของกิ่งที่ขยายออกรองรับดอก  ดอกบางชนิดมีฐาน รองดอกเจริญขึ้นมาล้อมรังไข่  เป็นส่วนหนึ่งของผล   เช่น  ชมพู่  แอปเปิล

๒.  กลีบเลี้ยง  กลีบเลี้ยง เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มักมีสีเขียวคล้ายใบ กลีบเลี้ยง จะช่วยห่อหุ้มส่วนที่อยู่ข้างในของดอกไว้ ในขณะที่ดอกยังอ่อนอยู่เพื่อป้องกันอันตราย จากแมลง

๓.  กลีบดอก เป็นส่วนที่อยู่ถัดมา มักมีสีสวย และมีกลิ่นหอม ช่วยให้ต้นไม้มีความสวยงามดอกไม้บางชนิด จะมีต่อมน้ำหวานอยู่ที่โคนกลีบดอก ทำให้ดอกมี กลิ่นหอมช่วยล่อแมลงให้บินมาตอม และผสมเกสร เมื่อดอกยัง ตูมอยู่จะช่วยหุ้มเกสร ตัวผู้และเกสรตัวเมียไว้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเกสรตัวผู้และ เกสรตัวเมียไว้ผสมพันธุ์ ถ้าดอกไม้ ไม่มีเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียก็ไม่สามารถผสมพันธุ์ได้

๔.  เกสรตัวผู้  เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป เป็นอวัยวะสร้างเซลล์ สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชเกสรตัวผู้ประกอบด้วย
๑. อับละอองเรณู ซึ่งมีละอองเรณูอยู่ภายในมีลักษณะเป็นผงสีเหลือง และภายในละอองเรณูมีเซลล์สืบพันธุ์
๒. ก้านชูอับละอองเรณู

๕.  เกสรตัวเมีย  เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุด ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย
๑. ยอดเกสรตัวเมีย คือ ส่วนปลายสุดของก้านเกสรตัวเมีย มีลักษณะเป็น ปุ่ม มีขนหรือของเหลวเหนียว ๆ สำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวมา หรือแมลงพามา
๒. ก้านเกสรตัวเมีย คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากยอดเกสรตัวเมียลงมา มีลักษณะ เป็นท่อยาวเรียวลงมาถึงรังไข
๓. รังไข่ คือ ส่วนที่อยู่ติดกับฐานรองดอกมีลักษณะพองโตออกเป็น กระเปาะ
๔. ออวุล คือ ส่วนที่เรียงอยู่ภายในรังไขมีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ สีขาวนวล

๖. ก้านดอกย่อย (Pedicel) เป็นก้านของดอกย่อยที่อยู่ในช่อดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอกที่อยู่ต่อจากฐานดอกในดอกเดี่ยว

๗. ก้านดอก (Peduncle) เป็นส่วนล่างสุดของดอกที่ติดต่อกับลำต้นหรือกิ่ง หรือเป็นส่วนก้านช่อดอก

การสืบพันธุ์ของพืชดอก : ชนิดของพืชดอก

ชนิดของพืชดอก

พืชดอก หมายถึง  พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้เห็น พืชดอกจัดเป็นพืชชั้นสูงที่มีอวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ คือ ราก ลำต้น ใบ ตา ดอกและ  เมล็ด มีไว้เพื่อสำหรับขยายพันธุ์พืชดอกมีอยู่ทั่วไปหลายชนิด มีทั้งที่อยู่บนบกและอยู่ในน้ำ

แหล่งที่พบพืชดอก มี ๒ แหล่ง คือ

๑. พืชดอกที่อยู่บนบก เช่น มะม่วง กุหลาบ  มะเขือ
๒. พืชดอกที่อยู่ในน้ำ เช่น บัว   ผักตบชวา   แหน

พืชดอกแบ่งได้ ๒ ประเภท

๑. พืชยืนต้น  คือพืชที่มีอายุยืน  ส่วนต่างๆ ของลำต้นสามารถเจริญเติบโตได้ตลอดอายุ  ออกดอกออกผลได้หลายครั้ง เช่น ยางพาราและไม้ผลต่าง ๆ พวกมะม่วง  มะพร้าว  มะขาม  กระท้อน เป็นต้น
๒. พืชล้มลุก  คือพืชที่มีการเจริญเติบโตเพียงแค่ออกดอกออกผลในระยะเวลาอันสั้น แล้วก็ตาย  พืชล้มลุกที่จำเป็นสำหรับมนุษย์มาก ได้แก่ พืชจำพวกผักต่างๆ ผักกาด  ผักชี  ต้นหอม  กะหล่ำปลี  บวบ  ฟักทอง  ฯลฯ

พืชมีดอก ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น  ๒  พวกใหญ่  ๆ  คือ  พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว   คือพืชที่มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว   เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นชัดเจน   ใบมักมีลักษณะแคบเรียว    เส้นใบเรียงตัวในแนวขนาน   กลีบดอกมีจำนวน   ๓  กลีบ หรือทวีคูณของ  ๓   รากเป็นระบบรากฝอย   ตัวอย่างพืชใบเลี้ยวเดี่ยว  เช่น   ข้าวโพด   อ้อย  หญ้า ไผ่ วาสนา พุทธรักษา กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ ว่านหางจระเข้ธูปฤาษี สับประรด กล้วยไม้ ปทุมมา เป็นต้น

ลักษณะพืชเลี้ยงใบเดียว
-ลักษณะเส้นใบเรียงกันแบบขนาน
-มีระบบรากฝอย
-ลำต้นมองเห็นข้อปล้องชัดเจน
-ไม่มีการเจริญทางด้านข้าง
-ส่วนประกอบของดอก เช่นกลีบดอก มีจำนวนเป็น ๓ หรือทวีคูณของ ๓

ตัวอย่างและความสำคัญของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
๑. กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท

๒. ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษคือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม

๓. ปทุมมา เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีลำต้นสะสมอาหารอยู่ใต้ดินแบบเหง้า มีการเจริญเติบโตทางลำต้นและให้ดอกในช่วงฤดูฝนราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน จากนั้นจะทิ้งใบจนหมดแล้วพักตัวอยู่ในดินตลอดช่วงฤดูหนาวราวเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อถึงฤดูฝนก็จะเจริญเติบโตออกดอกอีกครั้ง ดอกปทุมมามีรูปทรงสง่าและมีสีสันสวยงาม

พืชใบเลี้ยงคู่  คือ พืชที่มีใบเลี้ยง  ๒ ใบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นไม่ชัดเจน ใบมีลักษณะกว้าง เส้นใบแตกแขนงเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว กลีบดอกมีจำนวน  ๔  –  ๕ กลีบ หรือทวีคูณของ  ๔ – ๕  ตัวอย่างพืชใบเลี้ยงคู่ได้แก่  ถั่ว พริก มะม่วง  เป็นต้น

   ลักษณะพืชใบเลี้ยงคู่
-มีใบเลี้ยง ๒ ใบ
-ลักษณะเส้นใบเป็นร่างแห
-มีระบบรากแก้ว
-ลำต้นมอง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน
-การเจริญออกทางด้านข้าง
-ส่วนประกอบ ของดอกคือ กลีบดอกมีจำนวนเป็น ๔-๕ หรือ ทวีคูณของ ๔-๕

ตัวอย่างและความสำคัญของพืชใบเลี้ยงคู่
ถั่ว คือ พืชที่อยู่ในวงศ์ Fabaceae จัดแบ่งได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ
-ถั่วฝัก (Bean) เป็นถั่วในฝักที่มีเมล็ดไม่กลม กินได้ทั้งฝัก เช่น ถั่วแขก ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วแปบ หรือกินเฉพาะเมล็ด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วปากอ้า
-ถั่วฝักเมล็ดกลม (Pea) เป็นถัวในฝักที่มีเมล็ดกลม กินฝักสดที่ยังไม่แก่เต็มที่ บางครั้งเรียกว่า Green Pea เช่น ถั่วลันเตา
-ถั่วเมล็ดแบน (Lentil) ลักษณะเมล็ดแบนเล็กเหมือนนัยน์ตาคน มีหลายสี เช่น เขียว น้ำตาล
พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L. ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ

มะม่วง เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์Anacardiaceae ชื่อวิทยาศาสตร์:Mangifera indicaเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ ๓ รองจากฟิลิปปินส์ และแม็กซิโก

การปรับหน่วยการเรียน ป.5

การปรับหน่วยการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.5 ปีการศึกษา 2560

ภาคเรียนที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ัวิทยาศาสตร์ ป.5 ภาคเรียนที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ัวิทยาศาสตร์ ป.5 ภาคเรียนที่ 1

ภาคเรียนที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ัวิทยาศาสตร์ ป.5 ภาคเรียนที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ัวิทยาศาสตร์ ป.5 ภาคเรียนที่ 2

รายชื่อสัตว์ป่าสงวนที่เพิ่มมาใหม่

สัตว์ป่าสงวน เดิมมี 15 ชนิด เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ได้มีการเพิ่มขึ้นมาอีก 4 ชนิด จะมีอะไรบ้าง ตามครูแชมป์ไปดูกัน

เนื่องด้วยวันที่ 26 ธันวาคมของทุกปี ถูกกำหนดไว้ให้เป็นวันคุ้มครองสัตว์ป่า เนื่องจากเป็นวันที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี ทรงลงนามในพระปรมาภิไธยประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503” ซึ่งทำให้มีสัตว์ป่าสงวน 9 ชนิด

เมื่อมีการแก้ไขกฎหมาย ทำให้เกิด “พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535” ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ส่งผลให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ป่าสงวนขึ้นอีก จึงทำให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 มีสัตว์สงวนด้วยกัน 15 ชนิด คือนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรีหรือโคไพร ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผาจีน นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเรียนไทย แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และ พะยูน
(more…)