ไฮดรา (Hydra)

ไฮดรา เป็นสัตว์ชั้นต่ำ หลายเซลล์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate animal) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือเนื้อเยื่อชั้นแรก(epidermis) และเนื้อเยื่อชั้นใน (gastrodermis) อยู่ในไฟลัม Cnidaria หรือ Coelenterata
ไฮดราเป็นพวกเดียวกับแมงกระพรุน ดอกไม้ทะเล และปะการัง สาเหตุที่จัดไฮดรา ไว้ในไฟลัม Cnidaria เพราะไฮดรามีเซลล์ที่มีชื่อว่า Cnidoblast หรือ sting cell ซึ่งเซลล์นี้จะสร้าง nematocyst พบได้ทั่วไปตามผิวหนังชั้นนอกและพบมากที่บริเวณหนวด มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตมาก ช่วยจับเหยื่อเป็นอาหารและป้องกันตัว โดยเซลล์นี้จะปล่อยสารพิษ พร้อมกับปล่อย nematocyst ออกไป พิษนี้จะทำให้ศัตรูเกิดอาการอ่อนเปลี้ย และเป็นอัมพาต

hydra1

(ที่มา https://image.dek-d.com/24/855635/107014942)

ประเภทของไฮดรา
ไฮดราเป็นพวกเดียวกับแมงกระพรุน ดอกไม้ทะเล และปะการัง สาเหตุที่จัดไฮดรา ไว้ในไฟลัม Cnidaria เพราะไฮดรามีเซลล์ที่มีชื่อว่า Cnidoblast หรือ sting cell ซึ่งเซลล์นี้จะสร้าง nematocyst พบได้ทั่วไปตามผิวหนังชั้นนอกและพบมากที่บริเวณหนวด มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตมาก ช่วยจับเหยื่อเป็นอาหารและป้องกันตัว โดยเซลล์นี้จะปล่อยสารพิษ พร้อมกับปล่อย nematocyst ออกไป พิษนี้จะทำให้ศัตรูเกิดอาการอ่อนเปลี้ย และเป็นอัมพาต

ลักษณะของไฮดรา
ไฮดรามีหลายสี ได้แก่ สีเทาอ่อนจนถึง เทาแก่ สีน้ำตาลอ่อน สีเขียว หรืออาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและอาหารที่กินเข้าไป ลักษณะและรูปร่างของไฮดราแบ่งได้เป็น 4 ส่วน บริเวณปาก (hypostome )และหนวด ( tentacle ) บริเวณกระเพาะ ( gastric region)บริเวณก้านตัว (stalk region) ฐานตัว basal dise หรือ pedal diseส่วนปากมีลักษณะนูนออกมาคล้ายรูปกรวย เรียกว่า hypostome รอบๆ hypostome มีหนวด(tentacle) เรียงเป็นวงชั้นเดียว มีตั้งแต่ 4-12 เส้น ส่วนความยาวของหนวด เมื่อโตเต็มวัยจะยาวหรือสั้นกว่าลำตัวแล้วแต่ชนิด บางชนิดยาวถึง 5 เท่า ของลำตัว ไฮดรา มี 2 เพศ อยู่ในตัวเดียวกัน (hermaphodite) และแยกเพศคนละตัว dioecious ในสภาวะแวดล้อมที่สมบูรณ์ ไฮดราจะสืบพันธุ์แบบแตกหน่อ (budding) โดยจะให้หน่อใหม่ทุกๆ 1-2 วัน พบว่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงขึ้น และต่ำลง จะทำให้ไฮดราสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ที่แสดงเพศ ตัวผู้จะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนออกมาอยู่ระหว่างหนวด กับกระเพาะ ซึ่งทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (sperm) เรียกว่า อัณฑะ (testis) ส่วนอวัยวะที่แสดงเพศเมียอยู่ตอนกลางของลำตัว มีลักษณะพองนูน มีหน้าที่สร้างไข่ เรียกว่า รังไข่ (ovary) ไฮดราบางชนิด มีทั้งอัณฑะ และรังไข่อยู่บนตัวเดียวกัน สำหรับช่วงชีวิตของมันนั้น ยังไม่มีใครทราบว่าอายุจะยืนยาวเท่าไร

แหล่งที่พบและการเก็บตัวอย่างไฮดรา
ไฮดราอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดค่อนข้างสะอาด หรือน้ำสะอาดหลายชนิด ชอบอยู่ในน้ำนิ่ง ได้แก่ คู คลอง ทะเลสาบ แม่น้ำ เป็นต้น การเก็บตัวอย่างใช้อุปกรณ์ดังนี้
1.ภาชนะสำหรับตักน้ำ และพืชน้ำ เช่น กระป๋อง บีกเกอร์ เป็นต้น
2.ภาชนะสำหรับใส่น้ำและพืชน้ำ เช่น ตู้เลี้ยงปลา ขันน้ำ ขวดปากกว้าง
3.หลอดหยด
4.ไรแดง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากเป็นอาหารของไฮดรา

การย่อยอาหารของไฮดรา
ไฮดรา เป็นสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง(One hole sac) ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด เรียกว่าหนวดจับ (Tentacle) ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดราคือตัวอ่อนของกุ้ง ปู และไรน้ำเล็กๆและใช้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (Nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ  ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวง เรียกว่า ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์(Gastrovascular cavity)ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูง เรียกว่า ชั้นแกสโตรโดรมิส (Gastrodermis) เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย
1. นิวทริทิพ เซลล์(Nutritive cell) บางเซลล์มีแซ่ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (Flagellate cell) บางเซลล์คล้ายอะมีบา เรียกว่าอะมีบอยด์เซลล์ (Amoebiol cell) ทำหน้าที่ยื่นเท้าเทียมออกมาล้อมจับอาหาร ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ มีหน้าที่โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และโบกพัดให้กากอาหารเคลื่อนที่ออกทางปากต่อไป
2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (Gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่สร้างน้ำย่อยและปล่อยออกมา ซึ่งการย่อยอาหารโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยอาหารแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยโดยอะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยอาหารแบบภายในเซลล์

การแสดงความเห็นถูกปิด