เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ควรทราบ

เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ควรทราบ

  • เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับของความร้อนในวัตถุ
  • แคลอริมิเตอร์ (Calorimeter) คือ เครื่องมือไข้วัดปริมาณความร้อนของวัตถุ
  • ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer) และ ไซโครมิเตอร์ (Psychrometer) คือ เครื่องมือวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ
  • ไฮโดรมิเตอร์ (Hygrometer) คือ เครื่องมือวัดค่าความถ่วงจำเพาะ ( ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ) ของของเหลว
  • บารอมิเตอร์ (Barometer) คือ เครื่องมือวัดความดันของอากาศ
  • บอรอกราฟ (Barograph ) คือ เครื่องมือวัดความดันของอากาศตลอดเวลาโดยบันทึกในกระดาษกราฟ
  • แอลติมิเตอร์ (Altimeter) คือ เครื่องมือวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล
  • (more…)

สารกับสสารต่างกันอย่างไร

สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งตางๆ ที่อยูรอบๆ ตัวเรา มีขนาดตองการที่อยู มีมวล สัมผัสไดเชน อากาศ

สาร (Substances) คือ สิ่งหนึ่งของสสารเชน โตะ เกาอี้ คน ตนไม้ กาซออกซิเจน เปนตน

ดังที่กล่าวมาว่า สารคือสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของสสารนั่นเอง

การกลายเป็นไอมีกี่วิธี

การกลายเป็นไอมีกี่วิธี
การกลายเป็นไอมี 2 วิธี คือ
1. การระเหย
2. การทำให้เดือด

สื่อเรียนรู้เรื่องแสงและการมองเห็น ป.4

สื่อ vdo เรื่องแสงและการมองเห็น
1. แหล่งกำเนิดแสง

2. การเคลื่อนที่ของแสง

(more…)

หินแปร และตัวอย่างหินแปร

หินแปร เป็นหินที่แปรมาจากหินอัคนีหรือหินชั้น เพราะถูกความร้อนความกดดันภายในโลกและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ทำให้รูปร่างเนื้อเดิมของหินเปลี่ยนไป

ตัวอย่างหินแปร

ตัวอย่างหินแปรที่ควรรู้

ตัวอย่างหินแปร

(more…)

พืชหายใจหรือไม่

มีเด็กนักเรียนถามครูแชมป์ว่า พืชหายใจหรือไม่ ถ้าเราลองนึกดูว่า พืชถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ … เป็นสิ่งมีชีวิต … แล้วสิ่งมีชีวิตมีการหายใจหรือไม่ … ก็ต้องมีการหายใจ (more…)

สมบัติของวัสดุ

สื่อเรื่องสมบัติของวัสดุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

 



ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=1H2ZZLhFI7s

รู้หรือไม่ ปี 2559 มีเวลาเพิ่มขึ้นอีก 1 วินาที

590731

ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า

ปกติแล้ว เมื่อใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม นาฬิกาสากลแสดงเวลาเป็น …, 23:59:58, 23:59:59, 00:00:00, … เป็นการขึ้นวันใหม่ของปีใหม่ แต่ในปีนี้จะเป็น …, 23:59:58, 23:59:59, 23:59:60, 00:00:00, … มีวินาทีพิเศษเพิ่มเข้ามาหนึ่งวินาที เรียกว่า อธิกวินาที

เดิมหน่วยของเวลากำหนดขึ้นโดยอิงการหมุนรอบตัวเองของโลก หมุนครบรอบหนึ่งคือหนึ่งวัน แบ่งเป็น 24 ชั่วโมง หรือ 1,440 นาที หรือ 86,400 วินาที แต่นิยามนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว ความจริงเปลี่ยนไปหลายสิบปีแล้วด้วย

โลกถือเป็นตัวรักษามาตรฐานเวลาที่ไม่ดีนัก เพราะมีอัตราการหมุนรอบตัวเองไม่คงที่ นักวิทยาศาสตร์จึงต้องหาสิ่งที่มีคาบคงเส้นคงวากว่าโลก สิ่งนั้นก็คือ นาฬิกาอะตอม ซึ่งใช้การสั่นของอะตอมของซีเซียมเป็นมาตรฐาน นิยามของคำว่าวินาทีจึงกำหนดใหม่ว่า เป็นระยะเวลาเท่ากับการสั่นของอะตอมซีเซียมจำนวน 9,192,631,770 ครั้ง

 



 

นักดาราศาสตร์หมั่นวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลกอยู่เสมอด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุตรวจสอบตำแหน่งของดาราจักรที่อยู่ไกลมากด้วยความละเอียดสูง พบว่าคาบการหมุนรอบตัวเองของโลกยาวนานกว่าระยะเวลาหนึ่งวันของนาฬิกาอะตอมอยู่เล็กน้อย ความแตกต่างนี้สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมากถึงหนึ่งวินาทีภายใน 500-750 วัน ในการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเวลาแบบนาฬิกาอะตอมกับการระบบการหมุนของโลก จึงต้องเพิ่มอธิกวินาทีทุก 1-2 ปี

นับจากมีการใช้นาฬิกาอะตอมเป็นเวลามาตรฐาน มีการเพิ่มอธิกวินาทีไปแล้ว 26 ครั้ง ครั้งล่าสุดคือเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558

ครูแชมป์เชื่อว่า หลายคนเข้าใจว่าการเพิ่มอธิกวินาทีเกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองช้าลง บางคนอาจถึงกับคำนวณว่าถ้าเป็นแบบนี้แล้วโลกอาจหมุนช้าลงจนถึงกับหยุดหมุนภายในไม่กี่พันปีข้างหน้า

นั่นเป็นเรื่องเข้าใจผิด เป็นความจริงที่โลกหมุนช้าลงเรื่อย ๆ แต่ช้าลงด้วยอัตราต่ำมาก ในศตวรรษที่ผ่านมาโลกหมุนรอบตัวเองช้าลงเพียง 1.7 ส่วนใน 1,000 ส่วนของวินาที และนั่นไม่ใช่เหตุผลของการเพิ่มอธิกวินาที อธิกวินาทีมีขึ้นเพื่อลดความเหลื่อมสะสมของระบบเวลาสองระบบเท่านั้น

เมื่อบวกกับการที่ปีนี้เป็นปีอธิกสุรทินแล้ว ทำให้ปี 2559 นี้มีความยาวถึง 366 วันกับอีก 1 วินาที นับว่ายาวนานเป็นพิเศษ