การสืบพันธุ์ของพืชดอก : โครงสร้างของพืชดอก

โครงสร้างของพืชดอก

เนื้อเยื่อพืช
เนื้อเยื่อพืชที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างส่วนต่างๆ ของพืชแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น แบ่งตามความสามารถในการแบ่งเซลล์ หน้าที่ ลักษณะโครงสร้าง หรือตามตำแหน่งที่อยู่  ถ้าจำแนกตามความสามารถในการแบ่งเซลล์จะแบ่งเนื้อเยื่อพืชเป็น  ๒ ประเภท คือ
๑.เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem tissue)
เป็นเนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งตัวได้ มักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ผนังเซลล์บาง นิวเคลียสใหญ่ เด่นชัด แวคิวโอลขนาดเล็ก เซลล์อยู่ชิดกัน
ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อเจริญอกเป็น ๓ ประเภท ตามตำแหน่ง
๑.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) : เนื้อเยื่อประเภทนี้พบอยู่บริเวณปลายยอด ปลายราก และตา
เนื้อเยื่อปลายยอด

เนื้อเยื่อปลายราก

๒.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง  Laterral meristem): จะพบหลังจากมีการเจริญขั้นที่สอง เป็นเซลล์รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังเซลล์บาง เรียงตัวเป็นระเบียบ แบ่งเป็น ๒ ชนิด
๑)วาสคิวลาร์ แคมเบียม : แทรกอยู่ระหว่าง ไซเลม และโฟลเอ็ม มีหน้าที่ สร้าง secondary xylem และ secondary pholem พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
๒) คอร์ก แคมเบียม  : ทำหน้าที่สร้างคอร์ก เพื่อทำหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดมิส

วาสคิวลาร์แคมเบียม

คอร์ก แคมเบียม

๓) เนื้อเยื่อเจริญเหนือ ข้อ(Intercalary meristem) : เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้จะอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น ซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเข้ามาเกี่ยวข้อง
๒.เนื้อเยื่อถาวร คือ เนื้อเยื่อพืชซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่แบ่งตัวไม่ได้ และมีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ จะคงรูปร่างลักษณะเดิมไว้ตลอดชีวิตของส่วนนั้น ๆ ของพืชเนื้อเยื่อชนิดนี้เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันจนเซลล์นี้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมี Vacuole และ cell wall ก็เปลี่ยนแปลง
ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร เมื่อจำแนกตามลักษณะของเซลล์ที่มาประกอบกันจำแนกได้เป็น ๒ ชนิด คือ
๑. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วย เซลล์ชนิดเดียวกันล้วน ๆ จำแนกออกเป็นหลายชนิด คือ Epidermis Parenchyma Collenchyma Sclerenchyma Coke Secretory tissue
๒. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วย เซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำงานร่วมกัน ประกอบขึ้นด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ Xylem และ Phloem ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า Vascular bundle หรือ Vascular tissue นั่นเอง

โครงสร้างและหน้าที่ของราก
ราก คือ ส่วนหนึ่งที่งอกต่อจากต้นลงไปในดิน ไม่แบ่งข้อและไม่แบ่งปล้อง ไม่มีใบ ตา และดอก หน้าที่ของราก คือ สะสมและดูดซึมอาหารมาบำรุงเลี้ยงต้นพืช นอกจากนี้ยังยึดและค้ำจุนต้นพืช รากของพืชแบ่งออกเป็น ๒ ระบบ คือ
๑.ระบบรากแก้ว ต้นพืชหลายชนิดเป็นแบบรากแก้ว คือมีรากสำคัญงอกออกจากลำต้นส่วนปลายรูปร่างยาว ใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของราแก้ว จะแตกแขนงออกได้ ๒-๓ ครั้ง ไปเรื่อย ๆ รากเล็กส่วนปลายจะมีรากฝอยเล็ก ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อเพิ่มเนื้อที่ในการดูดซึมอาหารให้กับต้นพืช มักจะพบว่าพืชใบเลี้ยงคู่จะมีรากแบบรากแก้ว ตัวอย่างพืชที่มีลักษณะนี้คือ ขี้เหล็ก คูน มะกา มะหาด เป็นต้น
๒. ระบบรากฝอย เป็นรากที่งอกออกจากลำต้นส่วนปลายพร้อมกันหลายๆ ราก ลักษณะ เป็นรากกลมยาวขนาดเท่าๆ กันพบว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากแบบรากฝอย ตัวอย่างพืชที่มีรากแบบนี้คือ ตะไคร้ หญ้าคา เป็นต้น บางทีรากจะเปลี่ยนลักษณะไป เนื่องจากได้รับอิทธิพล จากสิ่งแวดล้อมภายนอก รากที่เปลี่ยนลักษณะไปนี้มีหลายชนิด เช่น รากสะสมอาหาร รากค้ำจุน รากเกี่ยวพัน รากอากาศ เป็นต้น

ตัวอย่างราก

รากมีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ
๑. ดูด ( absorption ) น้ำและแร่ธาตุที่ละลายน้ำจากดินเข้าไปในลำต้น
๒.ลำเลียง ( conduction ) น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของลำต้น
๓. ยึด ( anchorage ) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
๔. แหล่งสร้างฮอร์โมน ( producing hormones ) รากเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิด เช่น ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน

ลักษณะทั่วไปของลำต้น
ลำต้น(stem)  เป็นอวัยวะของพืชซึ่งส่วนใหญ่จะเจริญขึ้นมาเหนือดินแต่ก็มีพืชบางชนิดที่ลำ ต้นอยู่ใต้ดิน  ลำต้นประกอบด้วยส่วนสำคัญ  ๒ ส่วนคือ
๑. ข้อ(node)  เป็นส่วนของลำต้นที่มีตา(bud)ซึ่งจะเจริญไปเป็นกิ่ง ดอก หรือใบ
๒.ปล้อง(internode)  เป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อ

โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
ใบถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ต่อพืชเป็นอย่างยิ่งเพราะพลังงานที่ได้มานั้นต้องอาศัยการสังเคราะห์แสงซึ่ง เกือบทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่ใบของพืช
๑. โครงสร้างภายนอกของใบ
ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนแบนๆ ที่แผ่ขยายออกไปเรียกว่า แผ่นใบ (blade) และมีก้านใบ(petiole) เชื่อมติดอยู่กับลำต้นหรือกิ่งทางด้านข้าง และอาจมีหูใบ (stipule) ที่โคนก้านใบ  การที่ใบพืชมีลักษณะแบนมีประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับแสงเพื่อให็ ได้พลังงานไปใช้ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยในการระบายความร้อน  โดยทั่วๆไปใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากคลอโรฟิลล์
๒. โครงสร้างภายในของใบ
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลำต้น
๑. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น
๒. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมาก
๓. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลำเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath)

โครงสร้างของใบ

หน้าที่ของใบ
ใบมีหน้าที่สร้างอาหาร  เรียกว่า  “การสังเคราะห์ด้วยแสง” (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทเรียนเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง) นอกจากนี้ยัง ทำหน้าที่คายน้ำทางปากใบอีกด้วย
นอกจากนี้ใบของพืชบางชนิดยังทำหน้าที่อย่างอื่นอีก  เช่น  ใบตำลึง  มะระ และถั่วลันเตา             ทำหน้าที่ยึดและพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอก  จะประกอบกันเป็นชั้น ๆ อยู่บนฐานรองดอก   ดังนี้
๑.  ฐานรองดอก  เป็นส่วนของกิ่งที่ขยายออกรองรับดอก  ดอกบางชนิดมีฐาน รองดอกเจริญขึ้นมาล้อมรังไข่  เป็นส่วนหนึ่งของผล   เช่น  ชมพู่  แอปเปิล

๒.  กลีบเลี้ยง  กลีบเลี้ยง เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มักมีสีเขียวคล้ายใบ กลีบเลี้ยง จะช่วยห่อหุ้มส่วนที่อยู่ข้างในของดอกไว้ ในขณะที่ดอกยังอ่อนอยู่เพื่อป้องกันอันตราย จากแมลง

๓.  กลีบดอก เป็นส่วนที่อยู่ถัดมา มักมีสีสวย และมีกลิ่นหอม ช่วยให้ต้นไม้มีความสวยงามดอกไม้บางชนิด จะมีต่อมน้ำหวานอยู่ที่โคนกลีบดอก ทำให้ดอกมี กลิ่นหอมช่วยล่อแมลงให้บินมาตอม และผสมเกสร เมื่อดอกยัง ตูมอยู่จะช่วยหุ้มเกสร ตัวผู้และเกสรตัวเมียไว้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเกสรตัวผู้และ เกสรตัวเมียไว้ผสมพันธุ์ ถ้าดอกไม้ ไม่มีเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียก็ไม่สามารถผสมพันธุ์ได้

๔.  เกสรตัวผู้  เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป เป็นอวัยวะสร้างเซลล์ สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชเกสรตัวผู้ประกอบด้วย
๑. อับละอองเรณู ซึ่งมีละอองเรณูอยู่ภายในมีลักษณะเป็นผงสีเหลือง และภายในละอองเรณูมีเซลล์สืบพันธุ์
๒. ก้านชูอับละอองเรณู

๕.  เกสรตัวเมีย  เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุด ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย
๑. ยอดเกสรตัวเมีย คือ ส่วนปลายสุดของก้านเกสรตัวเมีย มีลักษณะเป็น ปุ่ม มีขนหรือของเหลวเหนียว ๆ สำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวมา หรือแมลงพามา
๒. ก้านเกสรตัวเมีย คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากยอดเกสรตัวเมียลงมา มีลักษณะ เป็นท่อยาวเรียวลงมาถึงรังไข
๓. รังไข่ คือ ส่วนที่อยู่ติดกับฐานรองดอกมีลักษณะพองโตออกเป็น กระเปาะ
๔. ออวุล คือ ส่วนที่เรียงอยู่ภายในรังไขมีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ สีขาวนวล

๖. ก้านดอกย่อย (Pedicel) เป็นก้านของดอกย่อยที่อยู่ในช่อดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอกที่อยู่ต่อจากฐานดอกในดอกเดี่ยว

๗. ก้านดอก (Peduncle) เป็นส่วนล่างสุดของดอกที่ติดต่อกับลำต้นหรือกิ่ง หรือเป็นส่วนก้านช่อดอก

การแสดงความเห็นถูกปิด