เรียนวิทย์กับครูแชมป์ การเปลี่ยนหน่วยอุณหภูมิ

เรียนวิทยาศาสตร์เรื่องของการเปลี่ยนหน่วยอุณหภูมิ จากองศาเซลเซียส เป็นองศาโรเมอร์ องศาฟาเรนไฮน์ และเคลวิน


เป็นการทดลองการใช้เม้าส์ปากกาครั้งแรก ยังใช้ไม่คล่องนะจ๊ะ

หากมีข้อคิดเห็น กรุณาคอมเม้นท์ หรือพูดคุยกันที่เพจ “ศิษย์ครูแชมป์นะจ๊ะ”
https://www.facebook.com/sitkruchamp/

จำนวนหัวใจของสัตว์

  • สัตว์จำพวกปลา มีหัวใจ 2 ห้อง
  • สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก มีหัวใจ 3 ห้อง
  • สัตว์เลื้อยคลาน มีหัวใจ 3 ห้อง
  • สัตว์จำพวกนก มีหัวใจ 4 ห้อง
  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีหัวใจ 4 ห้อง

ตัวอย่าง

  • ปลากัด 2 ห้อง

    อึ่งอ่าง 3 ห้อง

    โลมา 4 ห้อง

    งูดิน 3 ห้อง

    จิ้งจก 3 ห้อง

    กบ 3 ห้อง

    ฉลาม 2 ห้อง

    กิ้งก่า 3 ห้อง

    ลิง 4 ห้อง

    จระเข้ 4 ห้อง

    ไก่ฟ้า 4 ห้อง

    คางคก 3 ห้อง

สมบัติของแสง

สมบัติของแสง

แสงคืออะไร แสงมีสมบัติอะไรบ้าง แสงมีสมบัติอย่างไร

ความหมายของแรง และผลที่เกิดจากแรง

ความหมายของแรง และผลที่เกิดจากแรง

อุณหภูมิกำหนดเพศของจระเข้

จระเข้เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีการกำหนดเพศในระยะเป็นตัวอ่อนด้วยอุณหภูมิ โดยถ้าอุณหภูมิฟักไข่ที่ 30 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า ลูกจระเข้ที่ออกมาส่วนใหญ่จะเป็นเพศเมีย หากอยู่ระหว่าง 32 ถึง 33 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่จะเป็นเพศผู้ แต่ถ้าประมาณ 31 องศาเซลเซียสแล้ว ปริมาณลูกจระเข้ที่ออกมาจะมีสัดส่วนเพศผู้และเพศเมียเท่าๆกัน

ครูแชมป์

โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

พืชดอก หมายถึง  พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้เห็นพืชดอกจัดเป็นพืชชั้นสูงที่มีอวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ คือ ราก ลำต้น ใบ ตา ดอก และเมล็ด มีไว้เพื่อสำหรับขยายพันธุ์ พืชดอกมีอยู่ทั่วไปหลายชนิด มีทั้งที่อยู่บนบก และอยู่ในน้ำ ได้แก่

– พืชดอกที่อยู่บนบก ได้แก่ มะม่วง ชบา กุหลาบ มะเขือ มะขาม มะพร้าว ฟักทอง มะละกอ มะลิ   มะกอก
– พืชดอกที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ บัว สันตะวา ผักตบชวา ผักกระเฉด จอก แหน

พืชดอกแบ่งได้ 2 ประเภท

1. พืชยืนต้น คือ พืชที่มีอายุยืน ส่วนต่างๆ ของลำต้นสามารถเจริญเติบโตได้ตลอดอายุ ออกดอกออกผลได้หลายครั้ง เช่น ยางพาราและไม้ผลต่าง ๆ พวกมะม่วง มะพร้าว มะขาม กระท้อน เป็นต้น
2. พืชล้มลุก คือพืชที่มีการเจริญเติบโตเพียงแค่ออกดอกออกผลในระยะเวลาอันสั้น แล้วก็ตาย พืชล้มลุกที่จำเป็นสำหรับมนุษย์มาก ได้แก่ พืชจำพวกผักต่างๆ ผักกาด  ผักชี  ต้นหอม  กะหล่ำปลี  บวบ  ฟักทอง  ฯลฯ

ส่วนประกอบของดอก    (more…)

ธาตุที่เพิ่งค้นพบ

ตารางธาตุมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีธาตุที่เพิ่งค้นพบ (หรือจะเรียกว่าเพิ่งตั้งชื่อได้ดี)

IUPAC ประกาศชื่อ ธาตุใหม่ 4 ธาตุ ได้แก่ Nihonium (Nh), Moscovium (Mc), Tenessine (Ts) และ Oganesson (Og)

ชื่อเหล่านี้ถูกเสนอให้เป็นชื่อสำหรับธาตุใหม่หมายเลข 113 115 117 และ 118 ตามลำดับ ธาตุ 4 ชนิดนี้เป็นธาตุหนัก ยิ่งยวด (superheavy element) ที่ไม่สามารถพบได้ตามธรรมชาติบนโลก ทั้งหมดเป็นธาตุที่สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ

IUPAC หรือ International Union of Pure and Applied Chemistry ซึ่งเป็นองค์กรทางเคมีในระดับนานาชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อธาตุ ธาตุที่ค้นพบใหม่จะสามารถตั้งชื่อตามชื่อของตัวละครในตำนาน เช่น ตำนานกรีก ตั้งตามชื่อของแร่ ชื่อสถานที่ สมบัติของธาตุ หรือจากชื่อนักวิทยาศาสตร์

ธาตุหมายเลข 113 ค้นพบในประเทศญี่ปุ่น จึงได้ชื่อว่า Nihonium เพื่อสื่อความหมายถึงประเทศที่ค้นพบ ธาตุ 113 ยังเป็นธาตุชนิดแรกที่ค้นพบในประเทศทางเอเชียอีกด้วย

ธาตุหมายเลข 115 ได้รับชื่อว่า Moscovium ตามชื่อของเมืองมอสโควในประเทศรัสเซีย และธาตุ 117 ได้ชื่อว่า Tennessine ตามชื่อของรัฐ Tennessee ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของศูนย์วิจัยต่างๆ ที่ค้นพบธาตุเหล่านี้

ส่วนชื่อ Oganesson สำหรับธาตุ 118 มาจากชื่อของนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย Yuri Oganessian ผู้บุกเบิกการสังเคราะห์ธาตุหนักต่างๆ

โดยทั่วไปคำลงท้ายเสียงของชื่อธาตุจะเป็น -ium  แต่ Tennesine และ Oganesson มีคำลงท้ายเสียง -ine และ -on ก็เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อธาตุอื่นๆ ในหมู่เดียวกัน (หมู่ 7A และ 8A ตามลำดับ)

ทั้งนี้ IUPAC จะสำรวจเป็นระยะเวลา 5 เดือนหลังจากนี้ คือ จนถึงเดือนพฤศจิกายน จากนั้นจะมีการประกาศยืนยันชื่อของธาตุอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

ความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

จะเห็นได้ว่าผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ น้ำตาลกลูโคส น้ำ และก๊าซออกซิเจน สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม คือ

1. ช่วยเพิ่มก๊าซออกซิเจนให้สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตต้องใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจ

2. ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสภาพแวดล้อม

3.ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและไอน้ำ ให้บรรยากาศเนื่องจากผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงคือ น้ำ

4. เป็นที่เก็บสะสมพลังงานในรูปแบบของแป้งในเนื้อเยื้อพืช เมื่อคนหรือสัตว์กินพืชเข้าไปก็จะทำให้มีพลังงานไปใช้ในการดำรงชีวิต

5. เนื่องจากพืชเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นที่ 1 ในระบบนิเวศ การสร้างอาหารคือ การสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นเอง ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงาน ในระดับต่างๆในระบบนิเวศ และทำให้เกิดสมดุลของระบบนิเวศขึ้น