อาหารของพืชที่สร้างขึ้นคืออะไร และมีขั้นตอนอย่างไร

การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ให้กลายเป็นสารประกอบประเภทคาร์โบไฮเดรต โดยมีรงควัตถุภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่ดูดพลังงานแสง ปัจจัยต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยที่จำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยจะช่วยเพิ่มก๊าซออกซิเจนในบรรยากาศและป็นการสร้างอาหารขั้นปฐมภูมิในระบบนิเวศทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานระดับต่างๆในระบบนิเวศขึ้น

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง(Photosynthesis) เป็นปฏิกิริยาเคมี่พืชสร้างอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตซึ่งได้แก่ แป้ง และน้ำตาล จากวัตถุดิบ คือ น้ำ (H2O) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยมีคลอโรฟีลล์และแสงสว่างเป็นเครื่องช่วย ผลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช นอกจากจะได้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตแล้วยังได้ก๊าซออกซิเจน (O2) และน้ำเกิดขึ้นอีกด้วย

น้ำ + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์      —>     กลูโคส + ก๊าซอกซิเจน + น้ำ

ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง อาจเขียนให้เข้าใจได้ง่ายต่อไปนี้

อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ น้ำตาลกลูโคส (Glucose) เนื่องจากพืชจะทำการสังเคราะห์ด้วยแสงได้เฉพาะในเวลากลางวัน เมื่อมีแสงสว่างเท่านั้น ดังนั้น น้ำตาลที่พืชสร้างขึ้น จะถูกเปลี่ยนเป็นแป้งเก็บสะสมไว้ชั่วคราวในเซลล์ ในเวลากลางคืนไม่มีแสงสว่างพืชจึงหยุดทำการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้น แป้งที่เก็บสะสมไว้จึงถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลลำเลียงไปสู่ส่วนต่างๆ

คลอโรฟีลล์ของพืชส่วนใหญ่จะพบบริเวณใบ ดังนั้น การสังเคราะห์ด้วยแสงส่วนมากจะเดขึ้นที่ใบ อย่างไรก็ตาม นอกจากใบแล้วส่วนอื่นของพืชก็สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เช่น ลำต้น ราก ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคลอโรฟีลล์จะดูดพลังงานจากแสงอาทิตย์นำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีระหว่างน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยพืชจะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเข้าทางปากใบซึ่งโดยเฉลี่ยอากาศจะมีก๊าซนี้ประมาณ 0.03 – 0.04 เปอร์เซ็นต์ ส่วนน้ำที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงพืชจะได้จากดิน โดยมีขนรากทำหน้าที่ดูดน้ำจากดินด้วยวิธีออสโมซิส แล้วลำเลียงส่งมาตามท่อน้ำในราก ลำต้นและที่ใบ การสังเคราะห์ด้วยแสงจะเกิดขึ้นมากหรือน้อย นอกจากจะขึ้นอยู่กับแสงสว่างแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอีกด้วย จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าช่วงอุณหภูมิที่ทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นได้ดีที่สุดอยู่ระหว่าง 30-40 องศาเซลเซียส อุณหภูมิท่ต่ำหรือสูงกว่านี้พืชจะสังเคาะห์ด้วยแสงได้น้อยลง

ผลที่ได้จากกาสังเคราะห์ด้วยแสง มีดังนี้

2.1 น้ำตาล

น้ำตาล เป็นสารอินทรีย์จำพวกคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลที่สร้างขึ้น ได้แก่ น้ำตาล กลูโคส (C6H12O6)จะถูกเปลี่ยนเป็นแป้งเก็บสะสมไว้บริเวณในของพืช เราสามารถทดสอบแป้งโดยใช้สารละลายไอโอดีน จะทำให้มีสีน้ำเงินเกิดขึ้น

2.2 ก๊าซออกซิเจน

ก๊าซออกซิเจน (O2)เป็นผลิตผลที่ได้จากการสร้างอาหารของพืช โดยก๊าซออกซเจนนี้ได้มาจากออกซิเจนในโมเลกุลของน้ำ และก๊าซออกซิเจนจะถูกปล่อยสู่บรรยากาศทางปากใบของพืชมากที่สุด

2.3 น้ำ

น้ำ (H2O) สำหรับน้ำนอกจากจะเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้วยังเป็นผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงอีกด้วย

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ใช้น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ แล้วเกิดน้ำตาลกับก๊าซออกซิเจน นำไปใช้ในกระบวนการหายใจ ซึ่งทำให้เกิดน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ปัจจัยที่จำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสง
1 แสง

แสงเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญท่ก่อให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชขึ้น การที่พืชแต่ละชนิดจะมีการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยนั้นเกี่ยวข้องกับแสงสว่างอยู่ 3 ประการคือ

1.1 ความยามของคลื่นแสง แสงจากดวงอาทิตย์ที่พืชสามารถรับพลังงานมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นเป็นแสงสีขาวซึ่งคนเรามองเห็นได้เมื่อนำมาผ่านปริซึม (Prism) หรือสเปกโทรสโคป (Spectroscope) จะแยกออกเป็นแถบสีต่างๆ เรียกว่า Visible Spectrum มีอยู่ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสดและแดง ซึ่งมีความยาวคลื่น ระหว่าง 400-760 มิลลิไมครอน แสงที่มความยาวคลื่นมากกว่าแสงสีแดง (Infrared) กับแสงที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าแสงสีม่วง (Ultraviolet) นั้นเป็นแสงที่คนเรามองไม่เห็นและพืชรับพลังงานมาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อยมากหรือไม่ได้เลยจากการศึกษาพบว่า แสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชที่เกิดขึ้นได้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ดพราะรงควัตถุในพืชมีควาสามารถในการดูดแสงและสีต่างๆ ได้ไม่เท่ากัน โดยแสงที่รงควัตถุของพืชโดยทั่วไปดูดได้ดีที่สุดคือ แสงสีม่วงและน้ำเงิน จึงทำให้พืชที่ได้รับแสงในช่วงคลื่นดังกล่าวนี้มีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงกว่าแสงสีอื่นๆ แต่ในการทดลองกับสาหร่ายบางชนิดกลับพบว่า มีการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นมากที่สุดตรงช่วงแสงสีแดงรองลงมาคือ สีม่วง น้ำเงิน ส่วนสีเขียวมีการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นย้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่าแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันมีอิทธิพลต่ออัตรการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแต่และชนิดได้แตกต่างกัน

1.2 ความเข้มของแสง การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะเกิดได้เมื่อได้รับแสงที่มีความเข้มเหมาะสมซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช แต่โดยทั่วไปแล้วความเข้มข้นของแสงที่เหมาะกับพืชมีค่าเฉลี่ยประมาณ 2,000-5,000 ฟุตแรงเทียน พืชซึ่งชอบอยู่ในที่ชุ่มชื้นมีร่มเงามักจะต้องการแสงทีมีความเข้มต่ำกว่าพืชที่เจริญในบริเวณกลางแจ้ง อย่างไรก็ตามพบว่า เมื่อเพิ่มความเข้มของแสงให้สูวขึ้นจะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชสูงขึ้นตามไปด้วยจนถึงจุดหนึ่งจะมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงที่สุด เรียกว่า จุดอิ่มแสง (Light Saturation Point) ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชเช่นกัน

จากการศึกษาพบว่า พืชซึ่งเจริญอยู่ในทีมีแสงสว่างเพียงพอนั้น ชนิดและความเข้มของแสงจะไม่เป็นปัจจัยจำกัดในการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่สำหรับพืชที่อยู่ในที่มีร่มเงาหรือพืชขนาดเล็กซึ่งเจริญอยู่ในป่าใหญ่นั้นถือว่าชนิดและความเข้มของแสงเป็นปัจจัยจำกัดในการสังเคราะห์ด้วยแสง ทั้งนี้เพราะพืชซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าจะดูดแสงสีม่วง น้ำเงิน หรือแดงเอาไว้ ทำให้พืชที่อยู่ใต้ต้นไม้อื่นๆ ได้รับแสงสีเขียวมากกว่าแสงสีน้ำเงินหรือแดง พืชประเภทนี้จึงต้องมีการปรับโครงสร้างของใบทำให้สามารถดูดซับพลังงานแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าพืชโดยทั่วไป

1.3 ช่วงระยะเวลาที่ได้รับแสง การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะเกิดขึ้นมากน้อยยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับแสงอีกด้วย พืชโดยทั่วไปจะสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีเมื่อได้รับแสงเป็นเวลานานติดต่อกัน เช่น ต้นมะเขือเทศที่ได้รับแสงติดต่อกันตลอด 24 ชั่วโมง จะมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงมากและเจริญเติบโตเร็วกว่าการได้รับแสงตามปกติ แต่พืชบางชนิดเมื่อได้รับแสงเป็นเวลานานจนเกินไป จะมอัตราการสังเคราะห์แสงลดลงได้ เช่น ต้นแอปเปิ้ลจะมีการสังเคราะห์ด้วแสงลดลงเมื่อได้รับแสงติดต่อกันนานเกิน 12 ชั่วโมง เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นว่าการนำพืชเมืองหนาวมาปลูกในเขตร้อนชื้นหรือการนำพืชในเขตร้อนไปปลูกในเขตหนาวจึกมักประสบปัญหาพืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร สาเหตุสำคัญประการหนึ่งก็คือช่วงระยะเวลาที่ได้รับแสงของพืชไม่เหมาะสมนั่นเอง

2. อุณหภูมิ

อุณหภูมิ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์หลายชนิดเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปจะทำให้การทำงานของเอนไซม์เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้น อุณหภูมิจึงมีความสำคัญต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาของการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เราเรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์มอเคมีกัลป์ (Thermochemical Reaction)

โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชอยู่ระหว่าง 10-35 องศาเซลเซียส เพราะเป็นช่วงที่เอนไซม์ทำงานได้ดี ถ้ามีอุณหภูมิสูงเกินไป เช่น ที่50 องศาเซลเซียส จะทำให้เอนไซม์เสียสภาพไม่สามารถทำงานได้ หรืออุณหภูมิต่ำเกินไปก็อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ลดลงได้เช่นกัน จากการทดลองวัดปริมาณออกซิเจนที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชที่ให้ความเข้มของแสงไม่เท่ากันเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปพบว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชซึ่งได้รับแสงที่มีความเข้มข้นสูงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนพืชซึ่งได้รับแสงที่มีความเข้มข้นต่ำนั้นพบว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย และเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็ลดลงเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าเมื่อพืชได้รับแสงที่มีความเข้มเหมาะสมแล้ว อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะแปรผันตามอุณหภูมิ (ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส)

จากการศึกษาพบว่า อัตราการหายใจของพืชก็แปรผันตามอุณภูมิเช่นกัน ดังนั้น ในช่วงเวลาซึ่งงมีแสงน้อยและอุณภูมิต่ำนั้น อัตราการหายใจและอัตราการสังเคราะห์แสงก็จะน้อยด้วย แต่อัตราการหายใจเกิดขึ้นน้อยกว่า พืชดำรงชีวิตอยู่ได้เมื่อไม่มีแสงมากขึ้นและมีอุณภูมิสูงขึ้น อตราการหายใจและอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็เพิ่มขึ้นตาม จนถึงจุดอิ่มแสง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะเริ่มลดลง ในขณะที่อัตราการหายใจยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหากพืชอยู่ในภาวะที่มีอัตราการหายใจมากกว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นเวลานานๆแล้วจะทำให้พืชขาดอาหารสำหรับใช้ในกระบวนการเมตาบอลิซึม จนอาจทำให้พืชตายได้ในที่สุด

3. คลอโรฟีลล์

คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) เป็นรงควัตถุชนิดหนึ่ง มีสีเขียว ซึ่งพบได้ในคลอโรพลาส์ของเซลล์พืช สาหร่าย คลอโรฟีลล์ทำหน้าที่รับพลังงานแสงเพื่อใช้ในการสร้างอาหารถ้าพืชขาดคลอโรฟีลล์จะสร้างอาหารเองไม่ได้ เราจะสังเกตปริมาณคลอโรฟีลล์ในพืชได้โดยการสังเกตสีของพืช ถ้าพืชมีสีเขียวจัดก็แสดงว่ามีคลอโรฟีลล์มาก จะเห็นว่าพืชจะมีสีที่ต่างกัน บางชนิดมีสีเขียวจัด บางชนิดเป็นสีเหลือง บางชนิดมีใบเป็นสีแดง แล้วแต่ชนิดของพืช พืชที่มีสีเขียวน้อยก็จะใช้ส่วนอื่นสังเคราะห์ด้วยแสง

4. น้ำ

น้ำ (H2O)เป็นวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช แต่พืชมีความต้องการน้ำเพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสงในปริมาณน้อยเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น พืชส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยประสบปัญหาที่เกิดจากน้ำมากนัก อย่างไรก็ตาม หากพืชขาดน้ำแล้วก็อาจจะมีผลกระทบต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ ทั้งนี้เพราะน้ำเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร กาขาดน้ำจะทำให้เซลล์ปากใบปิดเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจึงแพร่เข้าสู่ใบได้น้อยลง อัตราการสังเคราะห์แสงจึงลดลง นอกจากนี้ การขาดน้ำยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ที่เกียวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชลดต่ำลงอีกด้วย จากการศึกษาของWardlaw (1969) พบว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของข้าวสาลีจะลดลงเมื่อขาดน้ำและเมื่อความเต่งของเซลล์ลดลงเหลือ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงชะงักได้

5. แร่ธาตุ

แร่ธาตุ เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชโดยตรง ทั้งนี้เพราะมีแร่ธาตุหลายชนิดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของรงควัตถุที่ใช้ในการดูดพลังงานของแสงอาทิตย์ เช่น แมกนีเซียม และไนโตรเจน เป็นธาตุองค์ประกอบในโมเลกุลของคลอโรฟีลล์ถ้าขาดธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้แล้วใบของพืชจะมีสีเหลืองซีด ส่วนธาตุเหล็กเป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์คลอโรฟีลล์สำหรับแมงกานีสกับคลอรีนนั้นต้องใช้ปฏิกิริยาโฟโทลิซิส เพื่อสลายน้ำออกเป็นไฮโดรเจนกับออกซิเจน นอกจากนี้ ยังพบว่าการขาดธาตุไนโตรเจน จะทำให้ไม่มีการสร้างกรานูลในคลอโรพลาสต์แต่จะมีเพียงสายยาวๆ ของลาเมลลาเท่านั้น สำหรับพืชที่ขาดธาตุทองแดง เหล็ก สังกะสี กำมะถัน แมกนีเซียม โพแทสเซียมและไนโตรเจน โดยทั่วๆไปพบว่า จะทำให้ประสิทธิภาพของปฏิกิริยาที่ใช่แสงลดลงไป

6. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ตามปกแล้วคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมีอยู่ประมาณ 0.03-0.04 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าในมหาสมุทรซึ่งมีการแพร่ของคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศลงสู่ทะเล และมีคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเกิดจากการหายใจและการย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในทะลจึงมีปริมาณมากเพียงพอกับความต้องการของพืชและสาหร่ายที่อยู่ในน้ำ จากการศึกษาพบว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชได้รับในบริเวณที่มีความเข้มของแสงที่แตกต่างกันทำให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชไม่เท่ากัน

6.1 เมื่อความเข้มของแสงคงที่อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (ไม่เกิน0.10 เปอร์เซ็นต์)

6.2 ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอิทธิพลต่อกาสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชมีค่าไม่เกิน 0.10 เปอร์เซ็นต์

6.3ความเข้มข้นที่สุดของคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งทำให้เกิดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่มากที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.10เปอร์เซ็นต์

6.4 เมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 0.03 เปอร์เซ็นต์ นั้นถือว่า คาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยจำกัดการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเพราะแม้จะเพิ่มความเข้มของแสงในช่วงนี้ แต่อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็ไม่แตกต่างกัน

6.5 เมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 0.03 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นว่า อัตรากาสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงมากขึ้น กล่าวคือ พืชที่ได้รับแสงที่มีความเข้มมากจะสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีกว่าพืชที่ได้รับแสงซึ่งมีความเข้มน้อย

6.6 ถ้าพืชได้รับแสงและน้ำอย่างเพียงพอ ความต้องการคาร์บอนไดออกไซด์ของพืชจะมากกว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่จริงในบรรยากาศธรรมชาติ

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และแสงสว่างเพียงพอ แต่ถ้ามีอุณหภูมิไม่เหมาะสม อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชก็ลดต่ำลงได้เช่นกัน

3.7 ออกซิเจน

ออกซิเจน (O2) เป็นผลิตผลที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชและใช้ในกระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป ปริมาณของออกซิเจนในบรรยากาศนั้น มักจะคงที่ประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์ และไม่มีผลกระทบต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากนักยกเว้นในกรณีที่มีปริมาณออกซิเจนอยู่ในเซลล์พืชมากเกินไป อาจก่อให้เกิดโฟโทเรสพิเรชัน ซึ่งทำให้เกิดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง

3.8 อายุของพืช

อายุของพืช ใบพืชที่มีอายุมากหรือน้อยไป จะมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ด้วยแสงต่ำ ทั้งนี้เพราะใบที่แก่เกินไปนั้นจะมีการสลายตังของแกรนูล ส่วนใบที่อ่อนก็มีคลอโรพลาสต์ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ ต้นพืชที่งอกใหม่และพืชที่กำลังจะตายจึงมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงต่ำกว่าพืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว

3.9 สารเคมี

สารเคมี การใช้สารเคมีบางอย่างอาจมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ คลอโรฟอร์ม อีเทอร์ เป็นต้น สารเหล่านี้มีสมบัติเป็นตังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibitor) จึงสามารถทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชหยุดชะงักได้

อาหารของพืชที่สร้างขึ้นมาคือน้ำตาลกลูโคส ใช้ไม่หมดสะสมในรูปของแป้ง ขั้นตอนในการสร้างอาหารของพืชคือกระบวนการการสังเคราะห์ด้วยแสง

ครูแชมป์ พิริยะ ตระกูลสว่าง

การแสดงความเห็นถูกปิด