ความดันบรรยากาศวัดได้อย่างไร

ความดันของอากาศมีค่าเท่ากับความดันของน้ำที่สูงประมาณ 10 เมตร และเนื่องจากการวัดความดันอากาศด้วยน้ำไม่สะดวก นักวิทยาศาสตร์จึงใช้ปรอทซึ่งเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำถึง 13.6 เท่าที่ระดับน้ำทะเลแทน นักวิทยาศาสตร์พบว่า อากาศสามารถดันปรอทให้สูงขึ้นไปสูงสุด 76 เซนติเมตรหรือ 760 มิลลิเมตร พร้อมทั้งเรียกความดันอากาศที่สามารถดันปรอทให้สูงขึ้นไป 760 มิลลิเมตรว่าเป็น ความดัน 1 บรรยากาศ หรือมีค่าเท่ากับแรงดันประมาณหนึ่งแสนนิวตันต่อตารางเมตร

12665701_10153477870532857_1366927986_n

บันทึกผลการทดลอง

ตารางบันทึกความดันบรรยากาศ วันที่ ….2…ถึงวันที่..8… เดือน …….มกราคม………. พ.ศ. …..2559……

สถานที่ตรวจวัด

ค่าความดันบรรยากาศที่อ่านได้ในแต่ละวัน (หน่วย)

1

2

3

4

5

6

7

ห้องเรียน

5.3

4.8

5.2

5.3

5.1

4.9

5.0

ห้องวิทยาศาสตร์

5.8

5.3

5.7

5.8

5.6

5.2

5.5



นักวิทยาศาสตร์ได้นำมาสร้างเครื่องวัดความกดอากาศ ซึ่งมีอยู่หลายชนิดดังนี้
1.  อัลติมิเตอร์ใช้หลักการเดียวกันกับแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่เทียบความดันของอากาศเป็นความสูง สำหรับใช้งานในเครื่องบิน หรือนักกระโดดร่มใช้เพื่อบอกความสูง

2.  บารอมิเตอร์แบบปรอท เป็นเครื่องมือง่ายๆ ประกอบด้วยหลอดแก้วกลวงยาวปลายข้างหนึ่งปิด มีปรอทอยู่เต็มหลอดแก้ว คว่ำหลอดแก้วลงให้ปลายเปิดอยู่ในอ่างปรอท ปรอทจะอยู่สูงในหลอดแก้ว
ประมาณ 760 มิลลิเมตร ที่ว่างเหนือปรอทเป็นสุญญากาศ เมื่อความกดอากาศสูงขึ้นไปในหลอดแก้วสูงขึ้น ปรอทจะขึ้นไปในหลอดแก้วสูงขึ้น

3.  แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ ประกอบด้วยตลับโลหะรูปร่างกลมแบนที่สูบอากาศออกเกือบหมดตรงกลางตลับนี้มีสปริงต่อไปยังคานและเข็มที่ชี้บนหน้าปัด เมื่อความกดอากาศเปลี่ยนไป ตลับโลหะจะพองขึ้นหรือแฟบลง ทำให้สปริงดึงเข็มชี้ไปบนหน้าปัดตามความกดอากาศ มีทั้งแบบแขวนและแบบตั้งโต๊ะ

4.  บารอกราฟ เป็นเครื่องวัดความกดอากาศที่ใช้แอนิรอยด์มิเตอร์นั้นเอง แต่ต่อปลายเข็มชีกับปากกา ซึ่งสามารถขีดเขียนลงบนกระดาษกราฟที่หมุนด้วยจานนาฬิกา ทำให้บันทึกความดันของอากาศในเวลาต่างๆ ทั้งวันได้จากเส้นกราฟ

การแสดงความเห็นถูกปิด