ชนิดของเมฆ

เมฆบนท้องฟ้าในลักษณะอากาศที่แตกต่างกันจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เมฆบางชนิดเกิดขึ้นในอากาศดี บางชนิดทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง การจำแนกเมฆแบ่งตามรูปร่าง

1. เมฆระดับสูง (ความสูงตั้งแต่ 6 – 18 กม.)

1.1 เซอโรคิวมูลัส: Cirrocumulus|Cc

มีลักษณะเป็นเกร็ดบาง หรือระลอกคลื่นเล็กๆ โปร่งแสงเรียงรายกันอย่างมีระเบียบ

11Cc_s

1.2 เซอโรสเตรตัส: Cirrostratus|Cs

แผ่นบางสีขาวโปร่งแสง ปกคลุมท้องฟ้ากินอาณาบริเวณกว้างทำให้เกิดดวงอาทิตย์/ดวงจันทร์ทรงกลด (halo)

12Cs_s

1.3 เซอรัส: Cirrus|Ci

ริ้วสีขาวเป็นเส้นบาง โปร่งแสง มีลักษณะคล้ายขนนก เนื่องจากถูกกระแสลมชั้นบนพัด

13Ci_s

2. เมฆระดับกลาง (ความสูงตั้งแต่ 2 – 6 กม.)

2.1 อัลโตคิวมูลัส: Altocumulus|Ac

เมฆก้อนลอยติดกันคล้ายฝูงแกะ คล้ายเมฆเซอโรคิวมูลัสแต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก

21Ac_s

2.2 อัลโตสเตรตัส: Altostratus|As

เมฆแผ่นหนา สีเทา ปกคลุมท้องฟ้าเป็นอาณาบริเวณกว้าง บางครั้งหนามากจนบดบังดวงอาทิตย์ได้

22As_s

3. เมฆระดับต่ำ (ความสูงตั้งแต่พื้นจนถึง 2 กม.)

3.1 สเตรโตคิวมูลัส: Stratocumulus|Sc

เมฆก้อน ลอยต่ำ รูปทรงไม่ชัดเจน มักมีสีเทา มีช่องว่างระหว่างก้อนไม่มาก มักพบเห็นเมื่อสภาพอากาศไม่ดี

31St_s

3.2 สเตรตัส: Stratus|St

เมฆแผ่นบางลอยสูงเหนือพื้นไม่มากนัก มักเกิดขึ้นตอนเช้าหรือหลังฝนตก เมื่อลอยต่ำมีลักษณะคล้ายหมอก

32Sc_s

3.3 นิมโบสเตรตัส: Nimbostratus|Ns

เมฆสีเทา ทำให้เกิดฝน แต่ไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง มักปรากฏให้เห็นสายฝนตกลงจากฐานเมฆ

33Ns_s

4. เมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง (ความสูงตั้งแต่ระดับพื้นจนถึง 18 กม.)

4.1 คิวมูลัส: Cumulus|Cu

เมฆปุกปุย ฐานราบ ยอดมน ทรงคล้ายดอกกะหล่ำ มักเกิดขึ้นในวันที่มีอากาศดี และมีการก่อตัวในแนวดิ่ง

41Cu_s

4.2 คิวมูโลนิมบัส: Cumulonimbus|Cb

เมฆขนาดยักษ์ รูปทรงดอกกะหล่ำ ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากลมชั้นบนพัดแรงยอดเมฆจะแผ่ออกคล้ายทั่ง

42Cb_s

ข้อมูลจาก LESA

เอกสารประกอบเพิ่มเติม

การแสดงความเห็นถูกปิด